1.แก่นความรู้ กลุ่มกิจการนักศึกษา เรื่อง การสร้างจิตอาสาในนักศึกษาพยาบาล
2.แก่นความรู้ กลุ่มงานบริการวิชาการ เรื่อง การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการฟื้นฟูสุขภาพผู้สุงอายุ
3.แก่นความรู้ กลุ่มงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ เรื่อง การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย
4.แก่นความรู้ กลุ่มบริหารและยุทธศาสตร์ เรื่อง มาตรการประหยัดพลังงาน
5.แก่นความรู้ กลุ่มวิชาการ เรื่อง เครื่องมือวัดประเมินผล

1. แก่นความรู้ กลุ่มวิจัยและบริการวิชาการ เรื่อง กระบวนการสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายวิจัย R2R
2. แก่นความรู้ กลุ่มวิชาการ เรื่อง การพัฒนาเครื่องมือและแบบประเมินผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ

1. แก่นความรู้ กลุ่มวิจัยและบริการวิชาการ เรื่อง การสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายการผลิตผลงานวิจัย
2. แก่นความรู้ กลุ่มกิจการนักศึกษา เรื่อง รูปแบบการบูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษา
3. แก่นความรู้ กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ เรื่อง คู่มือการใช้ website และระบบ VDO conference เครือข่าย NEC net.
4. แก่นความรู้ กลุ่มวิชาการ แก่นความรู้ เรื่องการเขียนแผนการสอนภาคทฤษฎี
4. แก่นความรู้ กลุ่มบริหารทั่วไป แก่นความรู้ เรื่องการรับ-ส่งหนังสือสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

1. แนวปฏิบัติในการเขียนแผนการสอนภาคทฤษฏี
2. แนวปฏิบัติในการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่
3. แนวปฏิบัติในการบูรณาการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษา
4. แนวปฏิบัติในการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน
5. แนวปฏิบัติในการใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ

  1. คู่มืจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ 1
  2. คู่มืจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ 2
  3. คู่มือการพัฒนาแผนการสอน
  4. สรุปการแลกเปลี่ยนเรีบนรู้ KM 2555

1. คู่มือการเขียนบทความวิจัยเพื่อการเผยแพร่
2. คู่มือการจัดทำ มคอ.5และมคอ.6
3. คู่มือการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ
4. สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปีการศึกษา2556

ผลการดำเนินงานการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตวศม. ปีการศึกษา ๒๕๕๔  ดังนี้

ผลงาน          

๑. จัดตั้งศูนย์ประสานงานศิษย์เก่า

-จากการติดตามดูงาน วพบ.กรุงเทพ พบว่าการจัดทำหอประวัติศาสตร์เป็นที่น่าสนใจ มีการจัดทำเป็นหลักแหล่ง ซึ่งมาพบว่า วศม. มีการจัดทำไม่เป็นสัดส่วนพร้อมทั้งมีผู้ดูแลที่ชัดเจน มีการนำอุปกรณีการแสดงของนักศึกษามาเก็บทำให้ไม่เป็นระเบียบ

๒.จัดทำเวปไซด์กลุ่มกิจการนักศึกษาเพื่อเป็นแหล่งในการเข้าถึงของนักศึกษา

-ในการทำงานด้านเวปไซด์ไม่มีการทำงานที่ชัดเจน จึงมีการริเริ่มทำจากเวปกลุ่มกิจการนักศึกษาเพื่อเป็นเวปไซด์นำร่องให้กับกลุ่มงาน แต่สิ่งพบคือเวลาในการดูแลเวปไม่มีเท่าที่ควรเนื่องจากมีภาระงานที่รับผิดชอบเป็นงานประจำอยู่แล้วทำให้การจัดทำเวปไซด์ไม่เป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งบุคคลากรที่จัดทำมีความรู้และทักษะในการจัดทำไม่มากทำให้บางครั้งไม่น่าสนใจพร้อมทั้งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้มากกว่าปกติ

๓. สร้างช่องทางทางเลือกสำหรับการพูดคุยของนักศึกษาและศิษย์เก่าเป็นกระดานข่าวอินถวา

-การจัดทำกระดานข่าวมีอยู่แล้วจากกการจัดทำเวปไซด์วิทยาลัยเดิม ทำให้การทำงานง่ายอยู่แล้ว

๔. ดำเนินการกระตุ้นการจัดส่งผลงานวิชาการของศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันในการเพิ่มพูนจำนวนผลงานของนักศึกษาและศิษย์เก่า

-ในการจัดทำเพื่อกระตุ้นการทำงานและการทำผลงาน ในขณะนี้ดำเนินการในแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยเพื่อให้เป็นแผนรายปี

รูปแบบการสังเคราะห์งานวิจัย

 ๑.ชื่อเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัย

๒.ความสำคัญของปัญหา

๓.วัตถุประสงค์ของการสังเคราะห์งานวิจัย

          ๓.๑ เพื่อค้นหาข้อค้นพบใหม่

          ๓.๒ เพื่อค้นหาจุดอ่อน จุดแข็ง และแนวทางพัฒนา

๔. กระบวนการสังเคราะห์งานวิจัย

          ๔.๑ การทบทวนงานวิจัย

          ๔.๒ สังเคราะห์งานวิจัยถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และข้อค้นพบ

          ๔.๓ ข้อค้นพบจากการสังเคราะห์งานวิจัย

๕. ประโยชน์ที่ได้จากการสังเคราะห์งานวิจัย

          ๕.๑ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์

          ๕.๒ ประเด็นการวิจัยครั้งต่อไป

         การเรียนการสอนเป็นกระบวนการเพื่อหวังผลเชิงคุณภาพ ให้ได้ผู้เรียนที่มีคุณภาพ   การพัฒนาการเรียนการสอน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้สอนต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน  บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอนที่จะส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน  คือ  ครู  อาจารย์ ทั้งนี้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 มีจุดเน้นที่ครู อาจารย์ จะต้องมีความรอบรู้ในด้านต่าง  ๆ  เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  คือ  หลักการจัดการศึกษา  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนการประกันคุณภาพ หลักการจัดการเรียนรู้ในมโนทัศน์ใหม่เพื่อมุ่งสู่คุณภาพการศึกษา  ครู  อาจารย์ต้องมีบทบาทเป็นทั้งนักวิจัย  และพัฒนาหลักสูตร  เพื่อจะนำผลที่ได้ไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอน  ซึ่งการพัฒนาการเรียนการสอนจะต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ  มีกระบวนการ  ตั้งแต่การหาปัญหา  การกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา  การทดลองปฏิบัติการแก้ปัญหาหรือการพัฒนา  รวมทั้งการสรุปและรายงานผลเพื่อเป็นการยืนยันผลการกระทำ  ซึ่งกระบวนการดังกล่าวก็คือการวิจัยนั่นเอง  (สุภัทรา เอื้อวงศ์.    2553  )

                  โดยจากการสังเคราะห์งานวิจัยด้านการเรียนการสอนผลงานวิจัยทางการพยาบาลของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2548-2552   พบว่า การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ  ได้แก่

  1. การออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  แล้วสอนแบบบรรยายแบบ  Participatory  Learning   ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนผู้เรียนมีกิจกรรมร่วมทำให้ตื่นตัวตลอดเวลา 
  2. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดประสบการณ์โดยมีกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  รู้จักคิดค้น  สร้าง  และลงมือปฏิบัติจริงเพื่อได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  สรุปความคิด  ความรู้ด้วยตนเอง  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ความสุข  
  3. การเรียนสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก  เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน  และรู้จักรับผิดชอบด้วยตนเอง
  4. การเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรบูรณาการ  เนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันนำมาเชื่อมโยงกัน เพื่อให้เรียนรู้อย่างมีความหมาย ลดความซ้ำซ้อนเชิงเนื้อหาวิชา ลดเวลา ในการแสวงหาความรู้ช่วยแบ่งเบาภาระทั้งของอาจารย์และนักศึกษาในการจัดการเรียนการสอน
  5. การเรียนสอนโดยใช้แฟ้มสะสมงาน  เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรม ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน   การทำงานเป็นกลุ่ม   แสดงถึงการพัฒนาความก้าวหน้าของเจ้าของแฟ้มสะสมงาน
  6. การจัดการเรียนโดยใช้ E-learning การเรียนการสอนแบบ eLearning ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และดำเนินกิจกรรมโดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก จุดเด่นของการเรียนรู้แบบนี้คือ การเข้าถึงเนื้อหาได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที่ สำหรับการสร้างเนื้อหาก็มีลักษณะที่ทำให้สิ่งที่สร้างขึ้นนั้นนำกลับมาใช้ได้ตลอดเวลา เรียกซ้ำได้ไม่รู้จบ การดำเนินการต่าง ๆ จึงใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าช่วย เช่น การประเมินผล การสอบ ทดสอบความรู้ต่าง ๆ เป็นต้น

                      แต่อย่างไรก็ตาม  รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแต่ละแบบนั้นนักศึกษาต้องมีการเตรียมความพร้อมที่แตกต่างกันไป  หรือต้องมีบริบทด้านการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน  ดังนั้นก่อนนำรูปแบบการจัดการสอนแต่ละแบบเข้ามาใช้  อาจารย์ผู้สอนอาจจะต้องมีการศึกษาบริบทด้านการจัดการเรียนการสอน  ศึกษาภูมิหลังของผู้เรียน  นิสัยการปฏิบัติตน ทักษะ  ความสามารถ  สภาพปัญหาและความต้องการ  รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของนักศึกษา  เพื่อให้เกิดผลในเชิงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง

KM แยกรายเดือน
สำหรับสมาชิก